วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วย 10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ประพฤติไม่ดี
สำหรับศาสนาสำคัญในประเทศไทยได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาสิกข์ ในที่นี้จะยกตัวอย่างแค่า ๒ ศาสนา คือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาสิกข์ อ่านเพิ่มเติม

หน่วย ๙ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา
คำว่า "ศาสนา" ในภาษาอังกฤษคือ "Religion" โดยเป็นคำที่มาจากคำละติน "Religio" ซึ่งแปลว่า "สัมพันธ์" หรือ "ผูกพัน" เนื่องจากภาษาละตินเป็นภาษาของชนชาติโรมัน ดังนั้น คำว่า "Religio" จึงหมายถึง "ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า"

ในภาษาบาลีจะเขียนว่า "สาสน" ซึ่งแปลว่า "คำสั่งสอน" ซึ่ง "คำสั่ง" หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว และสำหรับ "คำสอน" หมายถึง คำแนะนำให้ทำความดี

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (๒๕๒๗ : ๒๘-๓๖) ทรงให้ความหมายว่า ศาสนา มีความหมายสรุปได้เป็น ๒ นัย คือ (๑) คำสั่งสอน (๒) การปกครอง

พระราชวรมุน ี (ประยุทธ ปยุตฺโต) (๒๕๒๗: ๒๙๑) ทรงให้นิยามว่า “ศาสนา” คือ คำสอน คำสั่งสอน ปัจจุบันใช้หมายถึงลัทธิความเชื่อถืออย่างหนึ่งๆ พร้อมด้วยหลักคำสอน ลัทธิพิธี องค์การ และกิจการทั่วไปของหมู่ชนผู้นับถือลัทธิความเชื่อถืออย่างนั้น ๆ ทั้งหมด อ่านเพิ่มเติม

บทที่7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

ประวัติของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระนางมัลลิกา
2. พระอัสสชิ
3. หมอชีวกโกมารภัจจ์4. พระกีสาโคตมี อ่านต่อ

หน่วยที่ ๕ พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก


พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก

พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๓ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

      วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปี วันมาฆบูชาจึงเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา
มาฆบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 
วันมาฆบูชา : โอวาทปาฏิโมกข์
ตรงกับวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ในปีอธิกมาส

       เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๖ การบริหารจิตและเจริญปัญญา


การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา

การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา

ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๘ หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่ชาวพุทธ

ชาวพุทธคือ ผู้ที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยประกาศตนเป็นพุทธมามกะ ประกอบด้วย นักบวช คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา โดยเรียกรวมๆว่า พุทธบริษัท 4 ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสงฆ์ แยกเป็น พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีสงฆ์
2. กลุ่มคฤหัสถ์ แยกเป็นอุบาสก และอุบาสิกา
ชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่ม ต่างมีหน้าที่และบทบาทต่อพระพุทธศษสนาแตกต่างกัน ดังนี้
1. หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุในฐานะเป็นพระนักเทศน์ พระธรรมฑูต พระธรรมจาริก พระวิทยากร พระวิปัสสนาจารย์ และพระนักพัฒนา
ทั้งพระภิกษุและสามเณร มีบทบาทและหน้าที่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม